ผู้เขียน หัวข้อ: การกลับเป็นซ้ำของ ช้อกฯซีสต์  (อ่าน 4508 ครั้ง)

น.พ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 710
    • ดูรายละเอียด
การกลับเป็นซ้ำของ ช้อกฯซีสต์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2013, 03:31:17 pm »
จุดเริ่มต้น เราต้องรู้ก่อนครับ
ว่า เรามี ช้อกโกแล็ตซีสต์ ครั้งแรก

เรารู้ได้อย่างไร

แสดงว่า เราได้รับการผ่าตัดแล้ว เลยรู้ว่ามีฯ

แต่ การทำอุลตร้าซาวน์ พบ ซีสต์ก่อนผ่าตัด
แพทย์ไม่มั่นใจหรอกครับ ว่า เป็นช้อกโกแล็ตซีสต์
ได้แต่คาดการณ์ ว่าน่าจะใช่ จึงชวนผ่าตัดไงล่ะ

ตอนนี้กำลังนั่งอ่าน เกี่ยวกับ การเป็นซ้ำ "Recurrence"
เจอรายงานนึงวิเคราะห์ไว้ดีทีเดียว
ชื่อเรื่อง Recurrence of endometriosis and its control
ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Human Reproduction Update ปี 2009
พบว่า

1. อัตราการเป็นซ้ำ 6-67%

ทำไมมันต่างกันเยอะ 6 กับ 67
ก็คือ ขึ้นกับ จำนวนคนไข้ในแต่ละรายงาน และ ระยะเวลาที่เฝ้าตรวจติดตาม
รายงานจากจำนวนคนไข้น้อย.........พบอัตราเป็นซ้ำมาก
รายงานจากจำนวนคนไข้มาก.........พบอัตราเป็นซ้ำน้อย
มาตรวจติดตามไม่นาน........เจอเป็นซ้ำไม่มากนัก
ยิ่งเวลาผ่านไปนานขึ้น........ก็เจอเป็นซ้ำมากขึ้นเรื่อยๆ

เอาเป็นว่า หลังผ่าตัดแล้ว.......มีโอกาสเป็นซ้ำเยอะละกัน
เช่น ผ่านไป2ปี เจอ20%
พอผ่านไป5ปี เจอเพิ่มอีก รวมเป็น40กว่า%

2.ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเป็นซ้ำได้มากคือ เจอตอนอายุน้อย / เป็นมาก
ปัจจัยที่ลดโอกาสเป็นซ้ำคือ ได้รับยาหลังผ่าตัด / ตั้งครรภ์ / ผ่าตัดออกได้หมด

3.การได้รับยาหลังผ่าตัด ช่วยลด การเป็นซ้ำ ได้จริงหรือ?
ผมต้องใช้เวลาอ่าน paragraph นี้นานมาก กว่าจะเข้าใจ
คือ ขณะที่ใช้ยาอยู่.......อัตราการเป็นซ้ำจะลดลงชัดเจน เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ใช้ยา
ถ้าหยุดยาเมื่อไร........อัตราการเป็นซ้ำ จะเทียบเท่ากับคนที่ไม่ใช้ยา



วันนี้ใช้ภาษาหมอ มากไปหน่อย !!!! :P





รอหน่อยครับ
ช่วงนี้ ไม่ว่างเลย :-[
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2013, 10:24:43 pm โดย น.พ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ »

น.พ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 710
    • ดูรายละเอียด
Re: 15 กุมภา จะเขียนเรื่อง การกลับเป็นซ้ำของ ช้อกฯซีสต์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2013, 10:09:35 pm »
ขอเขียน guideline ไว้ก่อน กลัวลืมครับ

การป้องกัน การเป็นซ้ำ "Prevention of recurrence"
1.ผ่าตัดครั้งแรก ต้องผ่าตัดเลาะรอยโรคออกให้หมด
มือเบาๆในการผ่าตัด มีความสำคัญมาก
ค่อยๆทำ ไม่ต้องรีบ เนื้อที่เหลือจะได้ไม่ช้ำมาก

รายงานวิจัยพบว่า 88% ของการเป็นซ้ำ จะพบที่จุดเดิม!
หมายความว่า ตอนผ่าตัด อาจหลงเหลืออยู่บ้าง
ถ้า รอยโรคอยู่ในจุดไม่สำคัญ คงโดนเลาะไม่เหลือซาก
แต่ก็น่าเห็นใจแพทย์ผู้ผ่าตัดนะครับ
เพราะ เลาะมากๆที่รังไข่ คงไม่เหลือเนื้อดีผลิตไข่
พอเลาะเบาไว้ ก็อาจเกิดเป็นซ้ำ

2.ตั้งครรภ์
ลองเปรียบเทียบคนที่ได้รับการผ่าตัด ช้อกโกแล็ตซีสต์ แล้วปล่อยให้ตั้งครรภ์
พบว่า คนที่ตั้งครรภ์ได้ และ คลอดบุตร จะมีโอกาส เกิด ช้อกโกแล็ตซีสต์ซ้ำ 12.5% ใน 24เดือน
แต่คนที่ไม่ตั้งครรภ์ จะเกิด ช้อกโกแล็ตซีสต์ซ้ำ 34% ใน 24เดือน
ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3.ใช้ยาหลังผ่าตัด

-ยากลุ่ม androgen derivatives เช่น danazol หรือ dimetriose
ได้รับความนิยมน้อยมาก มักใช้ระยะสั้น 6-9เดือน
-ยากลุ่ม GnRH agonist เช่น Enantone หรือ Diphereline
มักใช้เพียง6เดือน นานกว่านั้นอาจเกิด กระดูกบาง osteopenia ได้
-ยากลุ่ม progestin เช่น norethisterone acetate (Primolute N) หรือ
MPA (Provera) หรือ DMPA หรือ ยากินคุมกำเนิด (oral contraceptive)
ใช้กันบ่อยมาก สามารถใช้ได้นานหลายๆปี

มีรายงานสนับสนุน การใช้ยากลุ่ม progestin กันอย่างแพร่หลาย
การใช้ยาต่อเนื่อง จะมีโอกาส เป็นซ้ำน้อยมากๆ
หยุดเมื่อไร ให้เริ่มนับโอกาสเสี่ยงที่จะ เป็นซ้ำ เหมือน ไม่ได้ใช้ยาได้เลย

4.ใช้ยาสูตรใหม่ aromatase inhibitor "AI"
ในรายที่ ข้อ3 ไม่ได้ผล คือ ใช้ยาอยู่ แล้วเกิดเป็นซีสต์
หรือ ใช้ยาอยู่ แต่อาการปวดไม่หายไป
นไข้ที่ดื้อยาข้อ3 พบได้ไม่บ่อย
แต่ถ้าพบ
พอให้ยากลุ่ม AI อาการปวดหายไปเลย ซีสต์ก็ยุบลงด้วย
ข้อเสียคือ อาจลดมวลกระดูก
จึงต้องให้คู่กับ progestins เสมอ
::)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2013, 10:22:40 pm โดย น.พ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ »

gotohoaha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
    • maxbet
Re: การกลับเป็นซ้ำของ ช้อกฯซีสต์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2015, 10:47:54 am »
เป็นความรู้ที่ดีมากเลยอ่าครับ

Rulykiis

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
    • คาสิโนออนไลน์ไม่มีขั้นต่ํา
Re: การกลับเป็นซ้ำของ ช้อกฯซีสต์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 05:13:09 pm »
น่ากลัวมากเลยครับผม

LenStup

  • บุคคลทั่วไป
การกลับเป็นซ้ำของ ช้อกฯซีสต์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 03, 2019, 06:14:11 pm »
Very curious question
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2019, 09:59:32 pm โดย น.พ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ »