ผู้เขียน หัวข้อ: ตั้งครรภ์ฉีดยาป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ไหมค่ะ  (อ่าน 6085 ครั้ง)

pui

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
ตั้งครรภ์ 10wks ฉีดยาป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ไหม ไปโดนลิงกัดมาคะ ฉีดยาแล้วจะเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ไหมค่ะ

น.พ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 710
    • ดูรายละเอียด
Re: ตั้งครรภ์ฉีดยาป้องกันพิษสุนัขบ้าได้ไหมค่ะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 06:23:21 pm »
เคยมีคนถาม
มีคำอธิบายที่ดี
ขออนุญาตคัดลอกมาครับ



วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่มีการใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ชนิด คือ Purified Vero Cell Rabies Vaccines (PVRV), Purified Chick Embryo Cell Rabies Vaccine (PCECV), Human Diploid Cell Rabies Vaccine (HDCV) และ Purified Duck  Embryo Cell Rabies Vaccine (PDEV) ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของวัคซีนทั้ง 4 ชนิดมีความใกล้เคียงกัน เป็นวัคซีนชนิด Inactivated ที่ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งจะมีความปลอดภัยและมีความบริสุทธ์


จัดอยู่ใน pregnancy categories C (ยังไม่มีผลการศึกษาที่เพียงพอทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์หรือ ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์)


มีรายงานการใช้ rabies vaccine ในหญิงตั้งครรภ์ 16 ราย (15 ราย ; HDCV, 1 ราย ; PCECV) พบว่า เกิดการแท้ง 2 ราย ซึ่งการแท้งดังกล่าวอาจไม่ได้เป็นผลมาจากการใช้วัคซีน, คลอดตามกำหนด 12 ราย, คลอดก่อนกำหนด 1 ราย, เกิด grand mal seizures 1 ราย จากการเจาะวัดไม่พบ antirabies antibody ใน serum ของทารก การชักดังกล่าวจึงไม่น่าเกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีน


สำหรับข้อมูลด้านความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์นั้นมีข้อมูลไม่มากนัก แต่การใช้วัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ เนื่องจากหากมีการติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต นอกจากนั้นไม่มีข้อห้ามใช้ในการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิด Inactivated และอิมมูโนโกลบุลินไม่ได้มีข้อห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน


ดังนั้นเมื่อพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับ จึงสามารถฉีดวัคซีนนี้ในหญิงตั้งครรภ์ได้โดยฉีดตามปกติ

หลักการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (rabies vaccine) ภายหลังสัมผัสโรค (Post-exposure prophylaxis vaccination) โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้สูตรการฉีดวัคซีนในผู้ป่วยภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 4 สูตร ดังนี้
1. การฉีดเข้ากล้ามแบบวิธีมาตรฐาน (standard WHO intramuscular regimen, ESSEN)
ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 1 หลอดในวันที่ 0,3,7,14,28 ควรฉีดที่กล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid region)
2. การฉีดเข้ากล้ามแบบ 2-1-1 (multisite intramuscular regimen, Zagreb)
ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 2 หลอดในวันแรกที่มารับวัคซีนและฉีดวัคซีน 1 หลอดในวันที่ 7 และ 21 หรือ 28
3. การฉีดเข้าในผิวหนังแบบ Thai Red Cross (TRC regimen 2-2-2-0-1-1)
ฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง 2 จุดในวันที่ 0,3,7 และฉีดวัคซีน 1 หลอดในวันที่ 30 และ 90
4. การฉีดเข้าในผิวหนังแบบหลายจุด (8-site intradermal, oxford 8-0-4-0-1-1)
ฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง 8 จุดในวันแรกของการรักษา ฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง 4 จุดในวันที่ 7 และฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง 1 จุดในวันที่ 30 และ 90   
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณะสุขของประเทศไทยให้ใช้เพียงสูตรการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อแบบวิธีมาตรฐาน (standard WHO intramuscular regimen ,ESSEN) และการฉีดวัคซีนเข้าผิวหนังแบบ Thai Red Cross TRC regimen) เท่านั้น

หากถูกน้ำลายหรือสารคัดหลั่ง  (เช่น เลือด ) จากร่างกายสัตว์ ซากสัตว์  เนื้อสมองสัตว์ กระเด็นเข้า สู่เยื่อบุตา ปาก จมูกหรือแผลตามผิวหนัง  และผู้ชำแหละซากสัตว์ จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาว่าจะต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลินหรือไม่ ตามความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นกรณีไป

เอกสารอ้างอิง:

1.โรคพิษสุนัขบ้า ร้ายแรง แต่ป้องกันได้ [homepage on the Internet]. คลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: date unknown [revised 2008 May 21; cited 2010 May 3].วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร;[2 screens]. Available from: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0012.pdf.

2. Gerald B, Roger F, Sumner Y. Drugs in pregnancy and lactation. 8th ed. Missouri: Wolters Kluver Health; c2008.

3. แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดด้วยวัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปี 2549 [homepage on the Internet].
ประพิมพ์พร ฉันทวศินกุล, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. กรุงเทพฯ: date unknown [revised 2007 Oct 1; cited 2008 Jan 8].
Animal Bite and Rabies Clinic;[2 screens]. Available from: http://www.saovabha.org/rabiesclinic/vaccine_02.pdf

โดย นสภ. กนกกาญจน์ ช้างพินิจ